![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEha7yso2_RS9u8gCQunoRUGbzeUqtNcjxydbD10vCHkaxrxJMswN_h3SJ2l1SeLEdGpllrn0yaGDShWI5rQ6_4SBNFA6hHEeRtJryZdY_h4phqUlAzedrlBkE9c2_TigjeG9qwMfdL74Pk/s320/RyA70N524730-02%5B1%5D.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjU5PAh-szb_m69d6EnMsnKunaI-RULQnLyK1J4ysQ63gL39oLCOc-cD9q1rqP8IWo5NaIoKzf8Qf8yeTNWpIJEgzE8qNJdaiRDDlvde0J5k7NFwTLJ_ZEVrsgpYlzfwS70SttWdeIOaLk/s320/kn2itw340876-02%5B1%5D.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjGFo8IEhUD_BW0yio5ERICqKAdn0DbDb69_V1xtgFd1tDPh36FWuY8UpvoAS062M-b_dEhF6GW1OYbJOY-3b3sWpZMQrc10jj9AVh_nM8pL9RVguVlUg5horihYQo2Q1w5N0tMdwycvkw/s320/gPs7Y1570203-02%5B1%5D.jpg)
สื่อสองมิติ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. ลักษณะที่เป็นข้อความและตัวอักษร เป็นสื่อที่ให้ข้อมูลของบทเรียนจำนวนมากได้ ผู้เรียนสามารถอ่านทบทวนความรู้ได้ง่าย พกพาสะดวก เหมาะกับกลุ่มผู้เรียนที่มีมโนทัศน์หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ มาก เช่น ผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา
2. ลักษณะที่เป็นกราฟิค การใช้ภาพประกอบข้อความ จะกระตุ้นความสนใจให้กับผู้เรียน ภาพที่ตรงประเด็น ภาพที่สื่อความหมายที่ชัดเจน ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
3. ลักษณะที่เป็นของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง ชุดประลองเป็นสื่อฯที่ผู้เรียนสามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้ การเรียนรู้จะเกิดกับผู้เรียนค่อนข้างสูงเหมาะกับผู้เรียนในทุกระดับ